วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

CARNIVAL FRESHY ED 55


CARNIVAL FRESHY ED 55

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2555 































วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกาศ...เรื่องการเปลี่ยแปลงเวลาการชี้แจงข้อมูล กยศ.(ด่วน)



ประกาศ..ด่วน!


ประกาศ..ถึง..น้องนิสิตผู้ขอกู้รายเก่าย้ายสถานศึกษาและผู้ขอกู้รายใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555 ตามที่ ทางภารกิจ กยศ. นัดน้องนิสิตประชุมเพื่อชี้แจงในเรื่อง ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลในสัญญา การดาวน์โหลดสัญญา และขั้นตอนการดำเนินการลงชื่อในสัญญา การรับเอกสารเปิดบัญชี การรับเอกสารเพื่อยื่นต่อที่ว่าการอำเภอ ในวันพุธที่ 11กรกฎาคม 2555 ณ ห้อง 15403 อาคารเรียนรวม 15 โดยภารกิจ กยศ. ขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการประชุมฟังคำชี้แจงจากเวลา  13.30 น. นิสิตผู้ขอกู้รายเก่าย้ายสถานศึกษา
เวลา 15.00 น. นิสิตผู้ขอกู้รายใหม่
โดยจะขอเปลี่ยนแปลงเวลาเป็นดังนี้
เวลา 13.00. นิสิตผู้ขอกู้รายเก่าย้ายสถานศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ นิติศาสตร์และคณะศิลปกรรมศาสตร์
เวลา 14.00. นิสิตผู้ขอกู้รายเก่าย้ายสถานศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
และเวลา 15.00 น. จะเป็นในส่วนของนิสิตผู้ขอกู้รายใหม่ทั้งหมด
ทั้งนี้ขอให้น้องนิสิตมาตรงเวลานัด ตามประเภทของผู้ขอกู้


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

พี่หญิง     086 – 4813813

พี่ต้นโอ๊ค   086-2996299 /085-6723793
Facebook   พี่หญิง : ภัทรมาศ ธิรักษพันธ์

พี่ต้นโอ๊ค : หมูอ้วน อ้วนชมพู

ชื่อกลุ่ม : กยศ. ม.ทักษิณ


ข้อมูลอ้างอิง / เพิ่มเติมข้อมูล
http://www.tsu.ac.th/scholarship/detail.php?id_list=311&aNum=20120706160728




วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยเรื่องเครื่องแบบเครื่องแต่งกายนิสิต 2552




ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ
ว่าด้วย  เครื่องแบบ  เครื่องหมาย  และเครื่องแต่งกายนิสิต  พ.ศ.2552

เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความเหมาะสม  และเอกลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา  22 (2)  และมาตรา  61  แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ  พ.ศ.2551 สภามหาวิทยาลัยจึงออกข้อบังคับไว้  ดังต่อไปนี้

ข้อ 1  ข้อบังคับนี้เรียกว่า  ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ  ว่าด้วยเครื่องแบบ  เครื่องหมายและเครื่อง                             แต่งกายนิสิต  พ.ศ.2552
ข้อ 2  ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3  เครื่องแบบและเครื่องแต่งกายนิสิตชาย  เพื่อแต่งในโอกาสต่าง ๆ มีดังนี้
(1)       นิสิตชายแต่งกายในเวลาปกติ
1.1        เสื้อ
ทำด้วยผ้าสีขาวเกลี้ยง  คอเสื้อแบบคอเชิ้ตแหลม  ไม่มีสาบหลัง  มีกระเป๋าติดทางอกด้านซ้าย  แขนสั้นหรือแขนยาว  เวลาสวมให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง
1.2        เน็คไท
ทำด้วยผ้าเกลี้ยงสีเทาขนาดกว้างประมาณ  5  หรือ  7  เซนติเมตร  ปลายแหลม  ตรงกลางปักตรามหาวิทยาลัย
1.3  เข็มขัด 
ทำด้วยหนังสีดำหรือน้ำตามเข้มอย่างใดอย่างหนึ่ง  ขนาดกว้าง  3.5  เซนติเมตร  หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาด  3.5 x 5  เซนติเมตร  หรือทำด้วยทองแดงรมดำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  4 x 6.5  เซนติเมตร  ดุนนูนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย
                  1.4  กางเกง
ทำด้วยผ้าเกลี้ยงสีเทา  สีกรมท่า  สีดำ  หรือสีน้ำเงินเข้ม  ทรงสุภาพไม่พับปลายขา
                      1.5  ถุงเท้า
ถุงเท้าแบบสั้น  สีสุภาพ
1.6         รองเท้า
รองเท้าหุ้มส้น  สีสุภาพ
(2)       นิสิตชายแต่งกายในงานพิธีของมหาวิทยาลัย  ให้แต่งกายเหมือนกับการแต่งกายในเวลาปกติ  เว้นแต่ 
2.1          เสื้อ  ให้ใช้เสื้อเชิ้ตสีขาวเกลี้ยง  แขนยาวไม่พับแขน  ผูกเน็คไท
2.2          กางเกง  ให้ใช้ผ้าเกลี้ยงสีเทาเข้ม
2.3          ถุงเท้าสีดำ
2.4          รองเท้าหนังสีดำ  หุ้มส้น  ไม่มีลวดลาย
       ข้อ 4  เครื่องแบบและเครื่องแต่งกายนิสิตหญิง  เพื่อแต่งในโอกาสต่าง ๆ มีดังนี้
(1)       นิสิตหญิงแต่งกายในเวลาปกติ
1.1        เสื้อ
ทำด้วยผ้าขาวเกลี้ยง  คอเสื้อแบบเชิ้ตปลายแหลม  ติดกระดุมทำด้วยโลหะสีเงิน  ขนาด  1.8  เซนติเมตร  ดุนนูนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย  จำนวน  5  เม็ด  แขนสั้นเหนือข้อศอก  6  เซนติเมตร  ปลายแขนพับเข้า  หน้าอกด้านขวาติดเข็มตรามหาวิทยาลัยขนาดกว้าง  2  เซนติเมตร
1.2        เข็มขัด
ทำด้วยหนังสีดำหรือน้ำตามเข้มอย่างใดอย่างหนึ่ง  ขนาดกว้าง  3.5  เซนติเมตร  หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาด  3.5 x 5  เซนติเมตร  หรือทำด้วยทองแดงรมดำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  4 x 6.5  เซนติเมตร  ดุนนูนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย
1.3        กระโปรง
ทำด้วยผ้าเกลี้ยงสีเทา  สีกรมท่า  สีดำ  หรือสีน้ำตาลเข้ม  ทรงสุภาพไม่รัดรูป  ความยาวเหนือเข่าไม่ให้เกิน  4  เซนติเมตร 
1.4        รองเท้า
รองเท้าหุ้มส้น  สีสุภาพ
(2)       นิสิตหญิงแต่งกายในงานพิธีงานมหาวิทยาลัย  ให้แต่งกายเหมือนกับการแต่งกายในเวลาปกติ  เว้นแต่
2.1        เสื้อให้ติดกระดุมคอ  กลัดด้วยกระดุมตรามหาวิทยาลัย
2.2        กระโปรงให้ใช้ผ้าเกลี้ยงสีเทาเข้ม
2.3        รองเท้าหุ้มส้น  สีดำ  ขัดมัน  ไม่มีลวดลาย
ข้อ 5  ตรามหาวิทยาลัยนั้น  ให้เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  เรื่องกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ  ของมหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อ 6  นิสิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้  จะได้รับการผ่อนผันเรื่องการแต่งกาย
6.1        เป็นผู้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
6.2        นิสิตภาคสมทบหรือภาคพิเศษที่เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลักฐานในหน่วยงานราชการ  รัฐวิสาหกิจ  องค์การหรือสถาบันต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อถือ
       ข้อ 7  นิสิตตามข้อ 6  มหาวิทยาลัยอนุญาตให้แต่งกาย
7.1        ในเวลาปกติให้แต่งกาย  แบบสุภาพชน  สีไม่ฉูดฉาด
7.2        ในงานพิธี  ผู้ชายแต่งกายตามข้อ  3(2)  ผู้หญิงแต่งกายตามข้อ  4(2)
       ข้อ 8  การแต่งกายนอกเหนือไปจากข้อบังคับนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสภามหาวิทยาลัย
       ข้อ 9  ให้อธิการบดีรักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้



ชุดนิสิตปกติ

                                                                                                  
ชุดนิสิตปกติ


ชุดนิสิตพิธีการมหาวิทยาลัย



                                              


ชุดพละศึกษา




ชุดกิจกรรม


ชุดนิสิตปกติ


ชุดนิสิตปกติ






วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันประชากรโลก








11 กรกฎาคม วันประชากรโลก

วันประชากรโลก (World Population Day) เป็นวันสำคัญประจำปีในวันที่ 11 กรกฎาคม กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาของประชากรโลก วันสำคัญนี้กำหนดขึ้นโดยคณะมนตรีประศาสน์การของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาเมื่อ พ.ศ. 2532 เกิดจากแรงดลใจของสาธารณชนที่ให้ความสนใจใน วันห้าพันล้านซึ่งเป็นวันที่คาดการณ์ว่าประชากรของโลกจะมีจำนวนประชากรเพิ่มเป็น 5,000,000,000 (ห้าพันล้าน) คนในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2530

ในวันฉลองครบรอบวันประชากรโลกห้าพันล้านคนปีที่ 20 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ประมาณจำนวนประชากรของโลกได้ 6,727,551,263 คน ในปี พ.ศ. 2511 บรรดาผู้นำของโลกประกาศร่วมกันว่า บุคคลมีสิทธิ์พื้นฐานในการกำหนดจำนวนบุตรและระยะเวลาที่เหมาะสมในการมีบุตรได้อย่างเสรี 40 ปีต่อมา วิทยาการการคุมกำเนิดสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถกระจายให้บริการได้ทั่วถึงผู้คนทั้งหญิง ชายและเยาวชนได้ทั่วถึง

ใน วันประชากรโลก ปีนี้ ยังคงยืนยันสิทธิ์ในการมีบุตรในครอบครัวของประชาชน มีการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ จัดงานและการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่จะให้สิทธิ์พื้นฐานดังกล่าวบรรลุความเป็นจริง เพิ่มโอกาสให้ประชาชนที่เข้าถึงข้อมูลยากได้รับข้อมูลข่าวสารและการให้บริการที่จำเป็นในการวางแผนครอบครัว ผู้โดยเฉพาะประชาชนผู้ด้อยโอกาส และรวมไปถึงเด็กวัยรุ่น

เมื่อประชาชนรู้จักการวางแผนครอบครัว พวกเขาย่อมสามารถวางแผนชีวิตของตนได้ด้วย ครอบครัวย่อมรู้วิธีขจัดความยากจนได้มากขึ้น รู้จักวางแผนให้มารดาและเด็กมีสุขภาพและอนามัยดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

มีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 20 และ 25 ปี กลุ่มชั่วคนรุ่นนี้นับว่าเป็นรุ่นเยาวชนที่มีจำนวนมากที่สุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนและกำลังจะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่คนสูงอายุในรุ่นของพวกเขานึกไม่ถึง โลกาภิวัตน์ การระบาดของโรคเอดส์ การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจแก้กลับคืนเหมือนเดิมได้

ฉากจำลองเหตุการณ์ขณะนี้มีสภาพของการผสมผสาน เมื่อกลุ่มเยาวชนแลกเปลี่ยนความคิด คุณค่า ดนตรีและสัญลักษณ์ผ่านสื่อและเทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์กันอย่างสะดวกรวดเร็ว วัฒนธรรมของโลกเยาวชนก็เกิดขึ้น หลายวัฒนธรรมรวมตัวเป็นองค์กรสร้างเครือข่ายของตนขึ้นทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรในกลุ่มนี้ยากจน มีรายได้น้อยกว่าวันละ 2 เหรียญสหรัฐหรือ 68 บาท ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี และยังอาจมีความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ได้เข้าโรงเรียนหรืออยู่โรงเรียนที่ไม่ดี ถูกลำเอียงทางเพศ ไม่มีงานทำ ไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัย ประชาชนกลุ่มนี้มีสิทธิ์ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การลงทุนยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มนี้จึงถือเป็นการลงทุนเพื่อสร้างผู้นำให้แก่ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติในอนาคต

กองทุนประชากรโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA)[2] ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนและปกป้องสิทธิ์ของเยาวชน มีวิสัยทัศน์ที่มองเห็นโลกที่เอื้อให้ทั้งหนุ่มและสาวมีโอกาสที่เหมาะสมได้รับการพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนมี ให้สามารถแสดงออกในความคิดเห็นของตน และความคิดความเห็นนั้นได้รับความเคารพจากผู้อื่น ได้มีชีวิตที่ปราศจากความยากจน จากการถูกเอาเปรียบ จากการถูกเหยียดหยามและการปราศจากความรุนแรง

เงินกองทุนนี้ มีการดำเนินการร่วมกับองค์กรหลายฝ่ายเพื่อหาวิธีที่จะเอื้อให้:

§  ให้อำนาจแก่วัยรุ่นและเยาวชนด้วยการฝึกให้ทักษะเพื่อการบรรลุถึงความฝันของแต่ละคน เพื่อการคิดเชิงวิจารณ์อย่างมีเหตุมีผล และเพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้โดยเสรี

§  เสริมสร้างสุขภาพ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์ เข้าถึงการศึกษา เข้าถึงสินค้าและบริการที่พึงได้รับ

§  หาทางให้เยาวชนเหล่านี้รู้วิธีทำมาหากินและเข้าถึงแหล่งการจ้างงาน

§  ให้และปกป้องสิทธิ์ของเยาวชน โดยเฉพาะสตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเจริญเติบโตด้วยสุขภาพที่ดีและปลอดภัย ได้รับส่วนแบ่งที่ยุติธรรมในบริการสังคม

§  สนับสนุนเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อตนเองและกลุ่ม รวมทั้งการมีส่วนในแผนพัฒนาแผนสังคมของตนเอง

วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี





พระราชประวัติ

ศาสตราจารย์ ดร. พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐  พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิตสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษา

§  ระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนจิตรลดา

§  วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเคมี) เกียรตินิยมอันดับ ๑ จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมีด้วย

§  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเคมีอินทรีย์) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อทรงมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อน ทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่ง ทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอย แม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตาม โดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds" และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

§  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรแบบไม่มีหน่วยกิตรายวิชา)ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ จากผลงานวิจัยเรื่อง "Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand"


§  ระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณ มหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไป

ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๘

และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย

การเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงมีภารกิจมากกว่าคนสามัญทั่วไป แต่พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้สำเร็จด้วยดี และที่สำคัญงานทั้งหมดของพระองค์ล้วนเป็นผลจากความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ ความรัก ความยกย่อง และความศรัทธาที่พสกนิกรมีต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จึงเกิดขึ้นด้วยพระกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ด้วย พระเมตตาธรรมและพระจริยาวัตร อันงดงามของพระองค์โดยแท้

มูลนิธิ/โครงการในพระอุปถัมภ์

§  มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก

§  โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร

§  โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

§  สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

พระเกียรติยศ







เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย








§  พ.ศ. ๒๕๐๘  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ (ภ.ป.ร.๑)

§  พ.ศ. ๒๕๑๘  เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑ (ส.ช.๑) 




เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ








ตำแหน่งทางวิชาการ


พระยศทางทหาร

§  พ.ศ. ๒๕๒๒ ร้อยโทหญิง เรือโทหญิง เรืออากาศโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกัดกองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกองทัพเรือ นายทหารพิเศษประจำกองทัพอากาศ[12]

§  พ.ศ. ๒๕๒๓ นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรือ ประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ และ ประจำกองพันทหารอากาศโยธินที่ ๑ รักษาพระองค์ [13]

§  พ.ศ. ๒๕๒๔ ร้อยเอกหญิง เรือเอกหญิง เรืออากาศเอกหญิง[14]

§  พ.ศ. ๒๕๒๖ พันตรีหญิง นาวาตรีหญิง นาวาอากาศตรีหญิง[15]

§  พ.ศ. ๒๕๒๘ พันโทหญิง นาวาโทหญิง นาวาอากาศโทหญิง[16]

§  พ.ศ. ๒๕๒๙ ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทางอากาศ[17]

§  พ.ศ. ๒๕๓๓ พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ และประจำกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[18]

§  พ.ศ. ๒๕๓๕ พลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรีหญิง[19]และศาสตราจารย์พิเศษ ประจำกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน (สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน)

§  พ.ศ. ๒๕๓๙ พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง[20]อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ และอาจารย์พิเศษ ประจำกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ

§  พ.ศ. ๒๕๔๒ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง[21]และรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ[22]

พระเกียรติคุณ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง

รางวัลในระดับนานาชาติ

§  พ.ศ. ๒๕๒๙ - เหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้

§  พ.ศ. ๒๕๓๓ - รางวัล Tree of Learning

โดย The World Conservation Union ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นการยกย่องที่ทางทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน

§  พ.ศ. ๒๕๔๗ - รางวัล EMS Hollaender International Award

จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประจำ ปี ค.ศ.๒๐๐๒

§  พ.ศ. ๒๕๔๗ - รางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก

โดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์

§  พ.ศ. ๒๕๔๙ - รางวัล IFCS Special Recognition

โดย Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในภูมิภาค

§  พ.ศ. ๒๕๔๙ - รางวัล Nagoyal Medal Special Award

เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก Nagoya University เมือง Okinawa ประเทศญี่ปุ่น

§  พ.ศ. ๒๕๕๒ - รางวัล Windaus Medal ด้านอินทรีย์เคมี

โดย Georg-August-Universität Göttingen และสมาคมเคมีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสการจัดสัมมนา "Adolf-Windaus-Genachtnis-Lecture" ประจำปี ๒๐๐๙ ในฐานที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นอกจากมีผลงานวิจัยและงานวิชาการในด้านอินทรีย์เคมี แล้วยังทรงพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของสาขาวิชานี้อย่างมาก

§  พ.ศ. ๒๕๕๒ - รางวัล Ramazzini Award ด้านเวชศาสตร์อาชีวะและสิ่งแวดล้อม

โดย Collegium Ramazzini สาธารณรัฐอิตาลี โดยมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มีผลงานโดดเด่นทั้งด้านงานวิจัย วิชาการด้านเวชศาสตร์อาชีวะ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผ่านมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว ๓๒ คน ซึ่งในโอกาสนี้ทรงปาฐกถาให้หัวข้อ "Cancer Risk from Exposure to Air Polution"

สถานที่



§  ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส


การแพทย์ และการสาธารณสุข


§  โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

สถาบันการศึกษา


§  โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ๑๒ โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่













พรรณพืช

§  Phalaenopsis 'Princess Chulabhorn'

กล้วยไม้ผสมตระกูล Phalaenopsis ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้น้อมเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2542 โดยเป็นผลงานการผสมพันธุ์ของสวนพฤกษศาสตร์เปราเดนนิยา (Royal Botanical Garden Peradeniya) ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสมของ Phalaenopsis 'Rose Miva' กับ Phalaenopsis 'Kandy Queen' และได้ขอพระราชทานพระอนุญาตอันเชิญพระนามเป็นชื่อของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ ลักษณะดอกเป็นสีขาวโดยมีปลายดอกเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

พันธุ์สัตว์

§  ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993)

§  ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990)